วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อุปรากร หรือ (Opera) ได้ถือกำเนิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 16 ณ เมืองฟลอเรนซ์ (Florence หรือ Firence) ประเทศอิตาลี และได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนถึงจุดสูงสุดที่กรุงเวียนนา (Vienna)ประเทศออสเตรียโดยคีตกวีกลุ๊ค (Gluck) และโมสาร์ท (Wolfgang Amadeus MoZart) ในปลายศตวรรษที่ 18 และช่วงปลายศตวรรษที่ 19 อุปรากรได้รับการพัฒนาต่อมาอีกอย่างรุ่งเรืองโดยคีตกวีที่มีชื่อเสียงได้แก่ เบลลีนี่ (Belini) โดนีเซตติ (donizetti) รอสซินี่ (Rossini)แวร์ดี้ (Verdi) ปุชชินี่ (Puccini) เป็นต้น

ดนตรีคลาสสิก (Classical Music) ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 17 และต่อเนื่องมาจนถึงต้นศตวรรษที่ 18 โดยมีศิลปินอิตาเลี่ยนเป็นผู้นำ ท่านเหล่านี้ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการดนตรีให้เข้าสู่ชีวิตจิตใจชาวยุโรปอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีเมืองที่เป็นแหล่งกำเนิดของงานดนตรีนี้ได้แก่ โรม เนเปิล ฟลอเรนซ์ อิทธิพลงานศิลปะการดนตรีของอิตาลีได้แผ่ขยายไปอย่างกว้างขวางสู่ยุโรปตะวันตก ส่วนทางซีกตะวันออกนั้นกรุงเวียนนาเป็นศูนย์รวมที่สำคัญทางดนตรี โดยมีนักดนตรีชาวอิตาเลี่ยนที่สำคัญได้แก่ ซิมาโรซ่า เพสซิชิลโล กัลลูปปี้ ซึ่งเดินทางเข้าไปทำงานที่นครเวียนนา เวียนนาจึงเป็นศูนย์กลางของดนตรีคลาสสิกและมีความรุ่งเรืองติดต่อกันมาถึง 200 ปี ดนตรีคลาสสิกจัดได้ว่าเป็นศิลปะการดนตรีแห่งยุคที่ดนตรีได้รับการพัฒนามาถึงจุดสูงสุดทั้งการประพันธ์และเครื่องดนตรี อาทิ ออร์แกน เปียโน และเครื่องดนตรีของตระกูลไวโอลิน เป็นต้น อันเป็นผลมาจากการการฟื้นฟูศิลปะการดนตรีจากยุคเรอเนสซองส์

ดนตรีคลาสสิก (Classical Music) ประวัติและความเป็นมา
ศิลปการดนตรีมีวิวัฒนาการควบคู่กับมนุษย์มาเป็นเวลาช้านานเช่นเดียวกับงานสถาปัตยกรรม การดนตรีมีความเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมโทรมไปตามยุคต่างๆตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ในยุคกรีกและโรมัน การดนตรีสอดแทรกอยู่ในงานเฉลิมฉลองต่างๆและกิจการทางศาสนา โดยเริ่มมีการใช้ตัวหนังสือแทนโน้ตดนตรี ในศตวรรษที่ 5 เมื่ออาณาจักรเอมไพร์ล่มสลายลง ทำให้เป็นช่วงเวลาแห่งยุคมืด (Dark Age) ศิลปะแขนงต่าง ๆ รวมทั้งดนตรีก็เสื่อมลง จนกระทั่งถึงยุคกลาง (Middle Age) อันเป็นช่วงต่อระหว่างยุคมืดและยุคเรอเนสซองส์ (Renaissance) การดนตรีได้เริ่มฟื้นตัวขึ้นอีก

ในศตวรรษที่ 6 ผู้คนเริ่มเบื่อหน่ายดนตรีที่มีความซ้ำซาก ขาดความกลมกลืน อีกทั้งไม่มีเมโลดี้ที่ชัดเจน ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในวงการดนตรีขึ้น เริ่มจากการขับร้องที่มีตัวโน้ตพร้อมกัน ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นการร้องเพลงประสานเสียง

ดนตรีคลาสสิกตะวันตกแบ่งออกเป็นยุคสมัยตามไสตล์และปรัชญาความคิดทางดนตรีที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ทั้งนี้แบ่งออกเป็นยุคสมัยต่าง ๆ ดังนี้: ยุคกลาง (Middle Age ค.ศ. 500-1400) ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance ค.ศ. 1400-1600) ยุคบาโร้ค (Baroque ค.ศ. 1600-1750) ยุคโรแมนติก (Romantic ค.ศ. 1825-1910) และยุคศตวรรษที่ 20 (Twentieth Century ค.ศ. 1910- ปัจจุบัน)

การรื้อฟื้นศิลปการดนตรี ได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจังในยุคกลางนี้เอง แต่เครื่องดนตรีต่าง ๆ ก็ยังพัฒนาไปไม่ถึงขั้นเป็นดนตรีออร์เคสตร้า เนื่องจากเครื่องดนตรีสมัยนั้นยังล้าสมัยอยู่มากเช่นทรัมเปตไม่มีลิ้น เครื่องเป่ายังมีเสียงไม่ครบ เครื่องสีวีโอลยังมีจุดอ่อนในเรื่องโทนเสียง เป็นต้น ซึ่งได้ใช้เวลาในการพัฒนามาจนถึงศตวรรษที่ 17 เครื่องดนตรีในยุคนั้นได้แก่ ลูท (Lute) ฮาร์พ (Harp) ไพพ์ (Pipe) โอโบ (Oboe) ซึ่งเราจะพบว่าเป็นเครื่องดนตรีของพวกมินเสตร็ล (Minstrel) และทรอบาดอร์ (Trobadour) ที่ใช้ประกอบการขับร้อง และเดินทางท่องเที่ยวไปยังปราสาทต่าง ๆ วิวัฒนาการของดนตรีพวกมินสเตร็ลได้พัฒนาการไปจนสิ้นสุดยุคกลาง และบางเพลงก็ยังมีปราฎอยู่จนกระทั่งถึงทุกวันนี้

ศตวรรษที่ 15 การดนตรีได้เริ่มเบ่งบานขึ้นด้วยการทำงานอย่างหนักของนักดนตรี 3 ท่านคือ พาเลสตริน่า (Giovanni Palestrina 1525-1594) ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งดนตรีสมัยใหม่ (The Father of Modern Music) ลาสซุส (Orland Lassus) และไบร์ด (William Byrd) ท่านทั้ง 3 นี้เป็นผู้เปิดประตูของศิลปการดนตรีจากยุคกลางไปสู่ยุคเรอเนสซองส์ อันเป็นยุคแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยาการทุกแขนง ในยุคนี้งานดนตรีเริ่มมีกฎเกณฑ์ในงานประพันธ์บทเพลงมากขึ้นรวมทั้งเพลงร้องในโบสถ์จำนวนนับร้อยและมอตเต็ตอีกจำนวน 600 เพลงซึ่งทำให้ท่านได้รับการขนานนามว่า บิดาแห่งดนตรีสมัยใหม่

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

 
ยินดีต้อนรับสู่ ยุกขอClassic
          ต้อนนี้กระแส Classic กำลังมาแรง แต่ Classic เดี๋ยวนี้เป็นแว้นกันหมดแล้ว